top of page

ความเป็นมาของยีสต์แซคคาโรมัยเซส บูลาร์ดิอี

Updated: Dec 15, 2022

เรื่องราวของแซคคาโรมัยเซส บูลาร์ดิอี ซีเอ็นซีเอ็ม ไอ-745 (Saccharomyces boulardii CNCM I-745) เริ่มต้นขึ้นในป่าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปีค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) ระหว่างภารกิจออกสำรวจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส อองรี บูลาร์ด (Henri Boulard) ได้ค้นพบยีสต์ชนิดนี้โดยบังเอิญ เขาสังเกตเห็นชาวบ้านดื่มสมุนไพรที่ทำจากเปลือกผลไม้เมืองร้อนสองชนิด คือ เปลือกลิ้นจี่ และ เปลือกมังคุด เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายท้อง ไปจนถึงอาการท้องร่วง [2 ,3]


Henri Boulard ได้ค้นพบว่าองค์ประกอบพิเศษในตำรับยาพื้นบ้านที่ทำให้สามารถรักษาโรคท้องร่วงได้นี้ เป็นยีสต์สายพันธุ์เดี่ยวชนิดหนึ่ง และ ได้ตั้งชื่อมันว่าแซคคาโรมัยเซส บูลาร์ดิอี (Saccharomyces boulardii) [2]

ยีสต์ชนิดนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้เหมาะจะเป็นโพรไบโอติก ทั้งความทนทานที่มีต่อกรด และเจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 37°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ [3]

แซคคาโรมัยเซส บูลาร์ดิอี ซีเอ็นซีเอ็ม ไอ-745 เป็นยีสต์ตัวแรกที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติโพรไบโอติก และเป็นโพรไบโอติกตัวแรกที่นำมาใช้เป็นยาของมนุษย์ [2] ยีสต์ชนิดนี้ได้ถูกนำมาวิจัยในการทดลองทางคลินิกมากกว่า 100 การทดลอง และถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคในฐานะการรักษาด้วย ยาโพรไบโอติกสำหรับโรคท้องร่วงมายาวนานกว่า 56 ปี โดยนอกจากรักษาโรคท้องร่วงแล้ว ยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดดีที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ หลังเสียสมดุลจากอาการท้องร่วง [1]


อ้างอิง

1. More MI, and Swidsinski, A. Saccharomyces boulardii CNCM I-745 supports regeneration of the intestinal microbiota after diarrheic dysbiosis–a review. Clinical and experimental gastroenterology. 2015; 8: 237.

2. Joly, F et al. 2017. Saccharomyces boulardii CNCM I-745. Marteau, P and Dore J (Ed.), Gut Microbiota: A full-fledged organ. 2017: 305-326. Paris: John Libbey Eurotext.

3. Czerucka, D., T. Piche, and P. Rampal. Yeast as probiotics–Saccharomyces boulardii. Alimentary pharmacology & therapeutics. 2007; 26(6): 767-778.



9 views

Comments


bottom of page